โดยทั่วไปโค๊ดรุ่น1 จะเป็นตัวเฑาะว์วงกลมเล็กซึ่งจะใช้การตอกเอา เช่นเดียวกับพระรูปหล่อ แต่เนื่องจากตะกรุดเป็นแผ่นโลหะบาง และมักจะพบว่าการตอกทำให้โลหะทะลุเป็นประจำ ฉนั้นรุ่น 1 หลังๆจึงใช้โค๊ดหนีบ คือการหนีบโค๊ดลงไปแทนการตอก ลักษณะโค๊ดหนีบจะมีลักษณะตัวเฑาะว์กลมที่ใหญ่กว่าโค๊ดตอก อักษระที่จารจะจารโดยคาถาดังนี้ (ยันต์เฑาะว์)(องค์พระ)(คาถาหัวใจโลกธาตุ)(ยันต์ใบพัด) //ตะกรุดลูกอมตั้งแต่รุ่น 1 ที่มีการตอกโค๊ด หลวงพ่อหยอดไม่ได้จารเอง จะให้ลูกศิษย์เป็นคนลงอักษขระ ซึ่งในยุคนั้นก็จะมี อาจารย์สี (สมัยเป็นฆารวาสเรียกกันว่าผู้การสี) และอาจารย์เจ้ย(หลวงพ่อสุชล ถาวรธมฺโม วัดคลองขนอน ต./อ.วัดเพลง จ.ราชบุรี) โดยปีที่สร้างจะใกล้เคียงกับตะกรุดรุ่น1โค๊ดตอก คือประมาณปี 253X แต่จำนวนการสร้างที่ใช้โค๊ดหนีบแบบนี้จะไม่เยอะมาก เนื่องจากในไม่นานต่อมา ทางวัดจะออกตะกรุดรุ่น 2 โค๊ดยะ ออกมา// ผมได้ทำการคลี่ตะกรุดออกมาเปรียบเทียบกับตะกรุด รุ่นแรก โค๊ดตอก และตะกรุด ลป.ใจ พบว่าตะกรุดทั้ง 3 นั้น การลงอักษขระ ที่หลักๆและสำคัญเหมือนกันทั้ง 3 ตะกรุดก็คือ คาถาหัวใจโลกธาตุ ส่วนจะมีการเปิด-ปิดด้วยยันต์ใบพัดหรือยันต์เฑาะว์ ก็ขึ้นกับอาจารย์ผู้จารเอง หลวงพ่อหยอดจะจารเองในยุคแรกๆแบบไม่มีโค๊ดซึ่งหายากมากๆ//การที่จะดูตะกรุดรุ่นนี้ให้จบ ดูที่ไหม 5 สี ของหลวงพ่อหยอด และการผูกเป็นหลักครับ//ขอบพระคุณรูปภาพคลี่ตะกรุดจากคุณมล เชือกคาดครับ